สาเหตุของแผลร้อนใน
สาเหตุของแผลร้อนใน
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคนี้อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมกัน และอาจมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาภูมิต้านทานของร่างกายด้วย โดยพบว่าประมาณ 30-40% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้บ่อย ๆ จะมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย (สาเหตุจากพันธุกรรม) จึงทำให้เชื่อได้ว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และโดยส่วนใหญ่จะเกิดอาการขึ้นมาเองโดยไม่ต้องมีสิ่งมากระตุ้น แต่ในส่วนน้อยก็พบว่ามีสิ่งกระตุ้นให้อาการกำเริบขึ้นมาได้เช่นกัน ได้แก่
ความเครียด ความกังวล ความเหนื่อยล้า อารมณ์โมโหฉุนเฉียว เช่น เครียดจากการทำงาน การอ่านหนังสือสอบมาก ๆ หรือเครียดจากปัญหาภายในครอบครัว (เพราะจากการศึกษาพบว่า การเกิดแผลร้อนในมีความสัมพันธ์กับอาชีพและระดับความวิตกกังวล)
- พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนน้อย (เชื่อว่าเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของสิ่งที่มากระตุ้น)
- การได้รับบาดเจ็บในช่องปาก เช่น เยื่อบุปากหรือลิ้นถูกกัดในขณะเคี้ยวอาหาร หรือถูกแปรงสีฟัน ฟันปลอม หรือจากอาหารแข็ง ๆ เข้าไปกระทบกระแทกในช่องปาก
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาอะเลนโดรเนตที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน (Alendronate) เป็นต้น
- การรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ของทอด ของมัน เนื้อติดมัน เหล้า เบียร์ ขนมปังเบเกอรี่ ของหวาน ไอศกรีม ผลไม้ที่มีรสหวานมาก ๆ
- การรับประทานอาหารที่มีรสจัดมากเกินไป เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด
- การแพ้อาหารบางอย่าง เช่น นมวัว เนยแข็ง กาแฟ โคล่า ช็อกโกแลต แป้งข้าวสาลี ของเผ็ด ผลไม้จำพวกส้ม ฯลฯ รวมไปถึงสารเคมีในอาหารหรือในสิ่งที่บริโภคบ่อย ๆ เช่น น้ำยาบ้วนปาก
- การแพ้สารบางอย่างในยาสีฟัน เช่น จากการใช้ยาสีฟันที่เจือปนสาร Sodium lauryl sulfate หรือ Sodium lauroyl sarcosinate
- ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (เนื่องจากพบเซลล์เม็ดเลือดขาวได้สูงในผู้เป็นแผลร้อนใน)
- การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Helicobacter pylori
- การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคเริม
- ร่างกายขาดวิตามินและเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะขาดธาตุเหล็ก สังกะสี กรดโฟลิก วิตามินบี (โดยเฉพาะวิตามินบี 12)
- การมีประจำเดือนของสตรี บางครั้งโรคนี้อาจสัมพันธ์กับการเปลี่ยนของฮอร์โมน เนื่องจากพบโรคนี้ได้บ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะในช่วงใกล้หรือมีประจำเดือน แต่จากการศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนได้
- การเลิกบุหรี่ เนื่องจากโรคนี้จะพบได้น้อยในคนที่สูบบุหรี่
- ในทางการแพทย์แผนตะวันออกเชื่อว่า “อาการร้อนในเกิดจากการขาดสมดุลของหยินและหยาง” โดยมีปัจจัยสำคัญอยู่ 2 ปัจจัย ได้แก่
- อาหารและร่างกาย : ร่างกายของคนเราจะมีลักษณะเป็นหยินเป็นหยางต่างกัน ถ้าคนที่มีลักษณะเป็นหยาง (ร้อน) มากกว่าหยิน (เย็น) ไปกินอาหารที่เป็นหยางเข้าไปมาก ๆ ก็จะทำให้หยางในร่างกายเพิ่มขึ้น เมื่อร่างกายขาดสมดุลมากก็ทำให้เกิดอาการร้อนในตามมา (อาหารที่เป็นหยิน (เย็น) คืออาหารชนิดที่กินเข้าไปแล้วทำให้รู้สึกชุ่มคอ รู้สึกสบาย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารจำพวกผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ ส่วนอาหารที่เป็นหยาง (ร้อน) จะเป็นอาหารที่มีรสเผ็ด รสที่ค่อนข้างจัด หรือว่าเข้มข้น (เช่น แกงเผ็ด ส้มตำ ข้าวเหนียว) รวมถึงอาหารทอดทุกประเภท ถ้าเป็นผลไม้ก็เช่น ขนุน ทุเรียน เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ฯลฯ)
- อากาศ : มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสาเหตุแรก กล่าวคือฤดูกาลที่เปลี่ยนไปมักจะมีแนวโน้มทำให้เกิดหยินกับหยางในลักษณะที่ต่างกัน เช่น ในฤดูร้อน ความเป็นหยาง (ร้อน) ก็จะสูงขึ้น เนื่องจากอากาศที่ร้อน เป็นต้น
- ขอแนะนำยาสีฟันสมุนไพร CENRICA เซนทรีก้า ที่จัดการปัญหาภายในช่องปากได้ดี
- ยาสีฟันนาโนเทคโนโลยี ผสานด้วยสมุนไพรธรรมชาติและน้ำมันหอมระเหย 22 ชนิด ไม่มีการใช้สารเคมีเพื่อฟอกเนื้อยาสีฟันให้เป็นสีขาวหรือแต่งกลิ่นและรสชาติ เพราะสารเคมีหรือสีที่นำมาผสมเหล่านั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อเหงือกและฟัน ปราศจากฟลูออไรด์
ขนาด 120มล. ราคาหลอดล่ะ 260 บาท
สั่งซื้อได้ที่ 094-8262351 / 092-9498245 id:nidnoi43100
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น